แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile )
แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile )
แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile ) ผลิตจากพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติดีกว่าเส้นใยธรรมชาติ มีลักษณะเป็นผืนใหญ่น้้าหนักเบา
ทำเป็นผืนโดยการนำเส้นใยมาผลิตโดยตรง เส้นใยสามารถยึดติดกันและทำให้แข็งแรงด้วยกระบวนการเชิงกล กระบวนการทางเคมี หรือกระบวนการทางความร้อน
แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile ) เป็นวัสดุป้องกันที่ใช้ออกแบบในการแก้ปัญหาที่เหมาะสำหรับงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยมีความทนทานต่อธรรมชาติเช่น เชื้อรา แบคทีเรีย จุลินทรีย์ หรือสารเคมี เพื่อทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้ง สามารถผลิตและควบคุมเส้นใยให้มี
ความเสมอกันต่างจากเส้นใยธรรมชาติ ในทางวิศวกรรมจึงเน้นใช้เส้นใยสังเคราะห์เพื่อการต่างๆ
ชนิด แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile )
วัสดุ แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile ) ที่นิยมใช้สามารถ แบ่งเป็น 2 ประเภท
คือ โพลิโพรไพลีน (Polypropylene) และ โพลิเอสเตอร์ (Polyester)
โดยทั่วไป แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile ) จะนิยมถูกผลิตใน 2 รูปแบบ
คือ แผ่นใยสังเคราะห์แบบถักทอ (Woven Geotextile)
แผ่นใยสังเคราะห์แบบไม่ถักทอ หรือ การถลุงด้วยเข็ม (Non-Woven Geotextile)
แผ่นใยสังเคราะห์ ชนิดถักทอ Woven Geotextile
ผลิตขึ้นจาก โพลีพรอพพีลีน ชนิดพิเศษ เหมาะสมกับการใช้งานชั้นดินต่างๆ
เพื่อเพิ่มความแข็งแรงกับชั้นดินที่มีความไม่มั่นคง เสริมกำลังคันดิน
เพื่อลดขั้นตอนให้สะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งลดราคาในการก่อสร้าง
แผ่นใยสังเคราะห์ ชนิดไม่ถักทอ Non-Woven Geotextile
ผลิตขึ้นจาก โพลีเอสเทอร์ เหมาะสมกับงานแยกส่วนชั้นดินต่างๆ
เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของวัสดุทั้งยังป้องกันหน้าดิน การกัดเซาะริมตลิ่ง หรือคันดิน
สามารถกรองวัสดุ และเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำได้ดี
การใช้งาน
แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile ) จะเสริมผิวหน้าดินให้มีขีดความสามารถในการรับแรงดึงได้มากขึ้น
ซึ่งจะทำให้ชั้นดินมีความแข็งแรงมากขึ้น ป้องกันผิวดิน หรือช่วยระบายน้ำ
สามารถแจกแจงการใช้งานของ แผ่นใยสังเคราะห์ ได้ดังนี้
• แยกชั้น หรือชั้นของหิน ดิน ทราย (Separation)
• เสริมกำลังชั้นหิน ดิน ทราย ต่างๆ (Reinforcement)
• กรองแยกชั้น (Filtration)
• ป้องกันชั้นดิน หรือหน้าดิน (Protection)
• ควบคุมการกัดเซาะชั้นดิน (Erosion Control)
• ป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายตลิ่ง (Bank of river control)
ประโยชน์
แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile ) ถูกออกแบบเพื่อแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม
ตามมาตรฐาน ISO 9002 เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ
โดยประโยชน์หลักของ แผ่นใยสังเคราะห์ คือ
• ใช้ทำหน้าเป็นการแยกชั้น กรอง และเสริมกำลังวัสดุ
• มีความแข็งแรงทนต่อการฉีกขาด
• ขอบผ้าอยู่ทรงไม่เปลี่ยนรูป
• น้ำสามารถซึมผ่านได้
• ทนความร้อนและแสงแดด
• ทนความชื้น เชื้อรา สารเคมี
โครงการที่ใช้ แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile )
แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile ) เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ถูกคิดค้นและผลิตเพื่อทดแทน
และมีราคาถูกกว่าวิธีการเสริมดินแบบสลักยึดหิน (Soil-nail)
ซึ่งสามารถเพิ่มความสวยงาม
และยังสามารถใช้ประโยชน์ในการปลูกพืช ณ
ปัจจุบัน แผ่นใยสังเคราะห์ จึงนิยมใช้ในโครงการหลากหลายดังต่อไปนี้
- งานถมพื้นที่หนองน้ำเดิมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
- งานชลประทาน เช่น
อ่างเก็บน้ำ, คลอง, ถมดิน, ชายฝั่งทะเล, กำแพงกันดิน หรือเขื่อนดิน
- งานชายฝั่งทะเล คุมการกัดเซาะ
- งานลานกองเก็บวัสดุหรือวางตู้สินค้า
- งานทางรถไฟ งานระบบระบายน้ำข้างทางหรือใต้ชั้นทาง
รวมถึงงานรางรถไฟ
- งานสนามบิน
- งานก่อสร้างจัดสวนบนหลังคาและงานภูมิสถาปัตย์
- งานรองพื้นปูHDPE
เพื่อป้องกันการฉีกขาด
- สนามกอล์ฟ
ขนาด แผ่นใยสังเคราะห์
- ขนาดน้ำหนัก 100g/ sqm. (100 กรัมต่อตารางเมตร)
- ขนาดน้ำหนัก 120g/ sqm. (120 กรัมต่อตารางเมตร)
- ขนาดน้ำหนัก 150g/ sqm. (150 กรัมต่อตารางเมตร)
- ขนาดน้ำหนัก 200g/ sqm. (200 กรัมต่อตารางเมตร)
- ขนาดน้ำหนัก 250g/ sqm. (250 กรัมต่อตารางเมตร)
- ขนาดน้ำหนัก 300g/ sqm. (300 กรัมต่อตารางเมตร)
- ขนาดน้ำหนัก 350g/ sqm. (350 กรัมต่อตารางเมตร)
- ขนาดน้ำหนัก 400g/ sqm. (400 กรัมต่อตารางเมตร)
* แผ่นใยสังเคราะห์ ขนาดหน้ากว้างต่อม้วน 2x100 และ 4x100 เมตร
คุณสมบัติ แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile )